บริษัทฯ ในฐานะศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ตระหนักถึงความรับผิดชอบในการนำสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งคริปโท เคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลที่มีคุณภาพและเหมาะสมเข้ามาทำการให้บริการซื้อขายแก่ลูกค้า โดยคำนึงถึงความต้องการและประโยชน์สูงสุดของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย บริษัทฯ จึงกำหนดให้มีนโยบายการคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดทำ กลั่นกรอง และอนุมัตินโยบายการคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (โทเคนดิจิทัลและคริปโทเคอร์เรนซี) ดังนี้
ตำแหน่ง | หน้าที่การจัดทำนโยบายการคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล | หน้าที่การอนุมัติคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อนำมาให้บริการ |
คณะกรรมการบริษัท | เป็นผู้อนุมัตินโยบาย | เพื่อรับทราบ |
คณะกรรมการคัดเลือก สินทรัพย์ดิจิทัล |
เป็นผู้กลั่นกรองนโยบายเพื่อนำ เสนอต่อคณะกรรมการบริษัท | เป็นผู้กลั่นกรองสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่ออนุมัติหรือเพิกถอน แล้วแต่กรณีและนำเสนอต่อคณะ กรรมการบริษัทเพื่อแจ้งให้ทราบ ต่อไป |
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ |
เป็นผู้จัดทำนโยบายเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือก สินทรัพย์ดิจิทัล |
เป็นผู้คัดเลือกและนำเสนอสิน ทรัพย์ดิจิทัลเบื้องต้นต่อคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล โดยการคัดเลือกจะพิจารณาจาก หลักเกณฑ์ในแต่ละประเภทสิน ทรัพย์ดิจิทัลที่กำหนดไว้ในนโยบาย ฉบับนี้ |
คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล ประกอบด้วยคณะกรรมการทั้งหมด 6 ท่านซึ่งรับผิดชอบในการกลั่นกรองนโยบายและพิจารณาอนุมัติการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนำมาให้บริการแก่ลูกค้า โดยจะมีการประชุมไตรมาสละ 1 ครั้ง หรือมีการเรียกประชุมโดยด่วนเมื่อมีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสินทรัพย์ดิจิทัลที่นำมาให้บริการ (เช่น สินทรัพย์ดิจิทัลขาดคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในนโยบายฉบับนี้ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินของลูกค้า เป็นต้น)
1. สาระสำคัญของนโยบาย
- นโยบายการคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (“นโยบายฯ”) ฉบับนี้จะต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ก่อนนำมาใช้ในธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขใดๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือประโยชน์ได้เสียของผู้ใช้บริการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ จะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลดังกล่าว และเสนอรายงานการรับฟังความคิดเห็นนั้นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วย
- การเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขนโยบายการคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลฉบับนี้ (1) เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หรือข้อกำหนดที่ออกตามความในกฎหมายดังกล่าว หรือ (2) เป็นการจัดหมวดหมู่หรือเนื้อหา หรือแก้ไขความขาดตกบกพร่องของนโยบายฯ โดยยังคงสาระสำคัญของนโยบายฯ ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนแล้วจะต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ก่อนนำมาใช้ในธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ
- คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Committee) ทำหน้าที่กลั่นกรองและสอบทานนโยบายการคัดเลือกและการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงทำหน้าที่ติดตามผ่านการรายงานของฝ่ายพัฒนาธุรกิจและประเมินความเหมาะสมของสินทรัพย์ดิจิทัลที่นำมาให้บริการในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นประจำทุกปีหรือในกรณีที่มีเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญ โดยให้คณะกรรมการบริษัท เป็นผู้อนุมัตินโยบายฯ ดังกล่าว
- สินทรัพย์ดิจิทัลที่นำมาให้บริการในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจะต้องไม่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแล ตลอดจนนโยบายการคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ กำหนดห้ามมิให้นำมาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
- สินทรัพย์ดิจิทัลที่นำมาให้บริการหรือเพิกถอนจากการให้บริการในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจะต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Committee) โดยฝ่ายพัฒนาธุรกิจจะนำผลการอนุมัติของคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลไปเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อทราบต่อไป
- เปิดเผยข้อมูลส่วนได้เสียหรือความขัดแย้งทางผลประโยชน์ผ่านเว็ปไซต์ของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบถึงในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือลูกจ้างของบริษัทฯ ที่อยู่ในคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Committee) ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงเกินกว่าร้อยละ 50 ของบริษัทผู้ออกสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นที่มีสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการอยู่ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ
2. ลักษณะของสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะไม่คัดเลือกมาให้บริการ
บริษัทฯ กำหนดให้สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะต้องห้ามตามที่มีประกาศที่เกี่ยวข้องกำหนด เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่สามารถนำมาให้บริการแก่ลูกค้าได้ ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงสินทรัพย์ดิจิทัล
ดังต่อไปนี้
2.1 เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2.2 เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการปกปิดข้อมูลการทำธุรกรรม (privacy coin) โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
2.2.1 สินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นโดยปกปิดข้อมูลผู้โอน ผู้รับโอน และปริมาณการโอน
2.2.2 สินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นโดยกำหนดสิทธิให้กับผู้ถือสามารถควบคุมการปกปิดข้อมูลผู้โอน ผู้รับโอน หรือปริมาณการโอนได้
2.2.3 สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีลักษณะอื่นใดตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
2.3 โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์พร้อมใช้ หรือคริปโทเคอร์เรนซี ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
2.3.1 ไม่มีวัตถุประสงค์หรือสาระชัดเจนหรือไม่มีสิ่งใดรองรับโดยมีราคาขึ้นอยู่กับกระแสในโลก โซเชียล (Meme Token)
2.3.2 เกิดจากกระแสความชื่นชอบส่วนบุคคล (Fan Token)
2.3.3 โทเคนดิจิทัลที่ออกโดยผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเอง หรือบุคคลซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจการเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลดังนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์สำหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชน (blockchain)
- กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมกิจการ
- คู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาของบุคคลตาม (1)
- นิติบุคคลซึ่งบุคคลตาม (1) มีอำนาจควบคุมกิจการ
- บริษัทฯ ใหญ่ บริษัทฯ ย่อย หรือบริษัทฯ ร่วม ทั้งนี้ ตามลักษณะที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกำหนดลักษณะของ กิจการในกลุ่มของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัล โดยอนุโลม
2.4 โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ดังนี้
2.4.1 โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ไม่พร้อมใช้ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอุปโภค บริโภค หรือเป็นการรับรอง (certificate) หรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ
2.4.2 โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยช์พร้อมใช้ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอุปโภค บริโภค หรือเป็นการรับรอง (certificate) หรือแทนเอกสารสิทธิใด ๆ
2.4.3 โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์พร้อมใช้นอกเหนือจาก 2.4.2 และมีลักษณะดังนี้
-
-
- ไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติในหมวด 3 การเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
- เป็นโทเคนดิจิทัลที่ไม่มีข้อกำหนดให้นำไปซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
-
2.5 โทเคนดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อรับผลตอบแทน (staking) ตามที่กำหนดในภาคผนวกโทเคนดิจิทัลที่ใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าหรือบริการและการฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อรับผลตอบแทน ทั้งนี้ ไม่ให้หมายความรวมถึงการฝากเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังนี้
(ก) เป็นกลไกการยืนยันธุรกรรม เช่น การใช้แสดงสิทธิในการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมด้วยวิธีการ proof-of-stake เป็นต้น
(ข) การออกเสียงลงมติ (voting)
(ค) การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อใช้สิทธิในการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ การเข้าร่วมมหกรรม หรือกิจกรรมอื่นใดในทำนองเดียวกัน (event)
(ง) การรับผลประโยชน์จากกิจกรรมในระบบนิเวศของโทเคนดิจิทัล (ecosystem)
2.6 โทเคนดิจิทัลเพื่อการแลกเปลี่ยนประจำโครงการ ท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกำหนดลักษณะการให้บริการที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
2.7 สินทรัพย์ดิจิทัลอื่นใดที่ีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์กำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลนำมาให้บริการแก่ลูกค้า ตลอดจนนโยบายการคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทที่อาจมีขึ้นในภายหลัง
3. เกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล
นอกจากนโยบายที่บริษัทฯ กำหนดลักษณะของสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะไม่คัดเลือกมาให้บริการข้างต้นแล้วบริษัทฯ กำหนดให้ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ คัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลมาให้บริการแก่ลูกค้าตลอดจนติดตามและระบุลักษณะสินทรัพย์ดิจิทัลที่ให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งภายหลังไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์นโยบายฯ ฉบับนี้ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Committee) ทำการกลั่นกรองและสอบทานตามหลักเกณฑ์ของสินทรัพย์ดิจิทัลในแต่ละประเภทที่กำหนดไว้ในนโยบายฯ ฉบับนี้ ก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัท อนุมัติต่อไป
กระบวนการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล
- ฝ่ายพัฒนาธุรกิจสรรหาสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และประเมินคุณสมบัติและลักษณะตามนโยบายฯ ฉบับนี้ ตลอดจนข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต.
- ฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องในบริษัทฯ สอบทานข้อมูลคุณสมบัติว่าเป็นไปตามนโยบายฯ ฉบับนี้ ตลอดจนข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต.
- หากคุณสมบัติครบถ้วน คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing committee) พิจารณาอนุมัติสินทรัพย์ดิจิทัลให้ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ
3.1 เกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency)
คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือ สิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยกัน และให้หมายความรวมถึงหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
คริปโทเคอร์เรนซีจะต้องมีคุณสมบัติและเป็นไปตามลักษณะครบถ้วนดังนี้
- มีเอกสารไวท์เปเปอร์ (Whitepaper) หรือเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงข้อมูลและรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับโครงการของผู้ออกคริปโทเคอร์เรนซี เช่น ที่มา วัตถุประสงค์ของโครงการ ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของโครงการ ผู้พัฒนา ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ลักษณะ สิทธิของผู้ถือคริปโทเคอร์เรนซีระบบนิเวศน์ (ecosystem) ของคริปโทเคอร์เรนซี กลไกการควบคุมปริมาณคริปโทเคอร์เรนซี กลไกที่รองรับการนำคริปโทเคอร์เรนซีไปใช้ประโยชน์ และ ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้รองรับ คริปโทเคอร์เรนซี
- มีช่องทางให้ติดตามข้อมูล ความคืบหน้าของโครงการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ในรูปแบบคอมมูนิตี้ (community)
- มีมูลค่าตลาด (market capital) ของคริปโทเคอร์เรนซี ณ วันที่นำมาให้บริการแก่ลูกค้า ที่เหมาะสมและน่าเชื่อถือ ตามเกณฑ์การให้คะแนนของบริษัทฯ
- เป็นคริปโทเคอร์เรนซีที่มีการซื้อขายอย่างแพร่หลาย และมีการแสดงราคาอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น มีรายชื่ออยู่ในของเว็บไซต์ coinmarketcap.com หรือเว็บไซต์ coingecko.com หรือมีการแสดงราคาอยู่ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างน้อย 1 แห่ง
- กรณีคริปโทเคอร์เรนซีที่มีผู้ออก ผู้แสดงตนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้พัฒนาคริปโทเคอร์เรนซี ผู้ออกคริปโทเคอร์เรนซีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องดังกล่าวต้องไม่มีประวัติการกระทำผิดกฎหมายอาญาในลักษณะหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต และไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีประวัติการกระทำความผิดหรือประวัติการทุจริตและไม่กระทำความผิดใด ๆ ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
3.2 เกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token)
โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะทำการคัดเลือกโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนที่ออกและเสนอขายโดยบริษัทฯ ในประเทศไทยเท่านั้น และจะไม่คัดเลือกโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนที่ออกและเสนอขายโดยบุคคลธรรมดา
โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนจะต้องมีคุณสมบัติและเป็นไปตามลักษณะดังนี้
- เป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนที่ออกและเสนอขายในประเทศไทยซึ่งออกและเสนอขายได้โดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และประกาศที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในกฎหมายดังกล่าว
- โครงการหรือกิจการเสร็จสมบูรณ์ และมีความชัดเจนในรายละเอียดเกี่ยวกับแผนธุรกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแนวทางการดำเนินโครงการหรือกิจการตามแผนธุรกิจ
- มีความชัดเจนในรายละเอียดเกี่ยวกับแผนธุรกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแนวทางการดำเนินโครงการหรือกิจการตามแผนธุรกิจ
- บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท
- มูลค่าโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องไม่น้อยกว่า 4 ล้านบาท ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนหลายประเภทภายใต้แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (“Whitepaper”) เดียวกัน มูลค่าของโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนทุกประเภทจะถูกนำมาคำนวณรวมกัน
- ผู้ออกโทเคนดิจิทัลที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องไม่มีประวัติการกระทำผิดกฎหมายอาญาในลักษณะหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต และไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีประวัติการกระทำความผิดหรือประวัติการทุจริตและไม่กระทำความผิดใด ๆ ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
- กรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุมกิจการของบริษัทฯ ที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องไม่มีประวัติการกระทำผิดกฎหมายอาญาในลักษณะหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต และไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีประวัติการกระทำความผิดหรือประวัติการทุจริตและไม่กระทำความผิดใด ๆ ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
- มีผู้สอบบัญชีซึ่งจะเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบหรือสอบทานงบการเงินของบริษัทที่ออกและเสนอขาย โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน กรณีที่บริษัทเปิดดำเนินการและยังไม่ผ่านการตรวจสอบงบการเงินโดยผู้ตรวจสอบบัญชี
- งบการเงินประจำรอบปีบัญชีล่าสุดของบริษัทฯ ที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี และผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขในการตรวจสอบงบการเงินดังกล่าว กรณีที่บริษัทเปิดแล้วมากกว่า 1 ปี และผ่านการตรวจสอบงบการเงินโดยผู้ตรวจสอบบัญชี
- ภายหลังจากการได้รับอนุมัติจากศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลให้สามารถจดทะเบียนซื้อขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนแล้ว ให้บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องเปิดเผยข้อมูล ดังต่อไปนี้ บนหน้าเว็บไซต์หรือช่องทางสื่อสารอื่นใดของผู้ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่มีการจดทะเบียนซื้อขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยบริษัทฯ จะนำข้อมูลดังกล่าวมาเปิดเผยบนหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของบริษัทฯ เพิ่มเติมด้วย
10.1 รายงานการดำเนินงานทางธุรกิจและฐานะทางการเงิน เช่น งบการเงินประจำรอบปีบัญชีที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้ว งบการเงินรายไตรมาส รายงานประจำปี หรือรายงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
10.2 ข้อมูลที่อาจกระทบต่อสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ลงทุนหรือการตัดสินใจในการลงทุนหรือการเปลี่ยนแปลงราคาหรือมูลค่าโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ตัวอย่างเช่น
- บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนมีการฟื้นฟูกิจการ
- บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนประสบความเสียหายร้ายแรง
- บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนหยุดประกอบกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน
- บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์หรือลักษณะการประกอบธุรกิจ
- บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนทำสัญญาให้บุคคลอื่นมีอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการบริหารงานของบริษัทฯ
- บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนผิดข้อตกลงในการชำระหนี้ตาม โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน
- บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงใด ๆ ที่เกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนในสาระสำคัญ
- บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนมีการแก้ไขแบบแสดงรายการข้อมูลการการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและหนังสือชี้ชวนหรือการแก้ไขไวท์เปเปอร์ ภายในระยะเวลา 15 วันก่อนการแก้ไข
- เหตุการณ์ที่ทำให้หรืออาจทำให้ต้องยกเลิกโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน หรือเลิกโครงการ กิจการ หรือแผนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน
- บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องเปิดเผยข้อมูลการประเมินมูล ค่าของโทเคนดิจิทัลที่สัมพันธ์กับสินค้าและบริการที่รองรับโทเคนดิจิทัลตลอดระยะเวลา ที่มีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
- บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องเปิดเผยข้อมูลเปิดเผยสัดส่วน โทเคนดิจิทัลของผู้ลงทุนที่ได้โทเคนดิจิทัลมาโดยไม่เสียค่าตอบแทนหรือในราคาต่ำกว่า ราคาเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อจำนวนโทเคนดิจิทัลทั้งหมด โดยให้เปิดเผย ตลอดระยะเวลาที่มีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
- ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) หรือกลไกทดแทน สามารถใช้บังคับได้จริงได้ เช่น ได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract Audit)
- บริษัท ที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องเปิดเผยรหัสต้นทาง (Open Source code) ของสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) เมื่อได้รับการร้องขอจากศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
- บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องมีระบบการป้องกันการโจมตีทาง ไซเบอร์ (Cyber Security) ที่มีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยภายใน 12 เดือนก่อนยื่นขอจดทะเบียนซื้อขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ระบบจัดการโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนและการบริการต่าง ๆ ของบริษัทฯ ที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบด้านความปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Audit) ที่น่าเชื่อถือ และระบบจัดการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Security System) ดังกล่าวสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องมีแผนสำรองและกู้คืนข้อมูลคอมพิวเตอร์
- บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องมีผู้ให้บริการกระเป๋าสินทรัพย์ ดิจิทัล (Wallet) อย่างน้อย 1 รายที่รองรับโปรโตคอลบล็อกเชนของโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนนั้น
- กรณีที่โทเคนดิจิทัลมีการเสนอขายในลักษณะต่ำกว่าราคาตลาดและนำมาซื้อขายภายในระยะเวลา 6 เดือน บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดระยะเวลาการห้ามขาย (silent period) โทเคนดิจิทัลดังกล่าวเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่มีการส่งมอบโทเคนดิจิทัลให้แก่ผู้ลงทุน
- ด้านการเปิดเผยข้อมูล บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนต้องมีช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน เช่น ความคืบหน้าการประเมินมูลค่าทางการเงินของสินทรัพย์อ้างอิง (ถ้ามี) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน เป็นต้น
3.3 เกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทโทเคนดิจิทัล (Digital Token)
โทเคนดิจิทัล (Digital Token) คือ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อตกลงระหว่างผู้ออกและผู้ถือ และรวมถึงหน่วยแสดงสิทธิอื่นตามที่ ก.ล.ต. กำหนด
หมายเหตุ เกณฑ์นี้ไม่่นำมาใช้กับโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน
โทเคนดิจิทัลจะต้องมีคุณสมบัติและเป็นไปตามลักษณะดังนี้
- ต้องไม่ปรากฏลักษณะในข้อ 2 เรื่องลักษณะของสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะไม่คัดเลือกมาให้บริการ ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายการคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลฉบับนี้
- ต้องเป็นโทเคนดิจิทัลที่ออกและเสนอขายโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศนั้น ๆ
- มีเอกสารไวท์เปเปอร์ (whitepaper) หรือเอกสารอื่น ซึ่งมีรายละเอียดและสามารถเทียบเคียงได้ ในลักษณะเดียวกันซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลดังนี้
- ลักษณะของโทเคนดิจิทัล เช่น ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้รองรับโทเคนดิจิทัล
- ความชัดเจนของแผนธุรกิจ โครงการ หรือกิจการ เช่น ที่มา วัตถุประสงค์ของโครงการ ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของโครงการ ผู้พัฒนา ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
- สิทธิของผู้ถือโทเคนดิจิทัล เช่น แผนดำเนินการในการจัดให้มีสินค้าหรือบริการหรือสิทธิ อื่นใดที่เฉพาะเจาะจง (Road map) มีสินค้าหรือบริการต้นแบบ (Prototype)
- กลไกการบังคับใช้สิทธิ เช่น สัญญาอัจฉริยะ (smart contract) การเปิดเผยรหัสต้นทาง (source code)
- มีรายชื่อ ราคาอ้างอิงปรากฏบนเว็บไซต์ coinmarketcap.com หรือ เว็บไซต์ coingecko.com หรือ มีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างน้อย 1 แห่ง หรือมูลค่าตลาดตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
- มีมูลค่าโทเคนดิจิทัลต้องไม่น้อยกว่า 4 ล้านบาท ณ วันที่บริษัทฯประเมิน
- กรณีโทเคนดิจิทัลที่มีผู้ออกหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้พัฒนาโทเคนดิจิทัล ผู้ออกโทเคนดิจิทัล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องดังกล่าวต้องไม่มีประวัติการกระทำผิดกฎหมายอาญาในลักษณะหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต และไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีประวัติการกระทำความผิด หรือ ประวัติการทุจริต และไม่กระทำความผิดใด ๆ ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการฟอกเงินและ กฎหมายว่าด้วยการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
- ได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังต่อไปนี้
- การตรวจสอบสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract Audit)
- การตรวจสอบระดับ Minimum Viable Product (MVP) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 สำหรับกรณีที่เป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ไม่พร้อมใช้
- ภายหลังจากการได้รับอนุมัติจากศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลให้สามารถซื้อขายโทเคนดิจิทัล ผู้ออกโทเคนดิจิทัลต้องเปิดเผยข้อมูล (หากมี) ดังนี้
-
- รายงานการดำเนินงานทางธุรกิจ
- ฐานะทางการเงิน
- ข้อมูลที่อาจกระทบต่อสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ลงทุนหรือการตัดสินใจในการลงทุนหรือการเปลี่ยนแปลงราคาหรือมูลค่าโทเคนดิจิทัลอย่างมีนัยยะสำคัญทุก ๆ 1 ปี ตลอดระยะเวลาที่มีการซื้อขายโทเคนดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยบริษัทฯ จะนำข้อมูลดังกล่าวมาเปิดเผยบนหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของบริษัทฯ ตัวอย่างเช่น
i. ออกโทเคนดิจิทัลมีการฟื้นฟูกิจการ
ii. ออกโทเคนดิจิทัลประสบความเสียหายร้ายแรง
iii. ผู้ออกโทเคนดิจิทัลหยุดประกอบกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน
iv. ผู้ออกโทเคนดิจิทัลเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์หรือลักษณะการประกอบธุรกิจ
v. ผู้ออกโทเคนดิจิทัลทำสัญญาให้บุคคลอื่นมีอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนในการบริหารงานแทน
vi. ผู้ออกโทเคนดิจิทัลกระทำหรือถูกกระทำอันมีลักษณะเป็นการครอบงำหรือถูกครอบงำกิจการตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
vii. ผู้ออกโทเคนดิจิทัลผิดข้อตกลงในการชำระหนี้ตามโทเคนดิจิทัล
viii. ผู้ออกโทเคนดิจิทัลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโทเคนดิจิทัลในสาระสำคัญ
ix. เหตุการณ์อื่นใดที่ทำให้หรืออาจทำให้ต้องยกเลิกโทเคนดิจิทัล หรือเลิกโครงการ กิจการ หรือแผนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโทเคนดิจิทัล
ผู้ออกโทเคนดิจิทัลแก้ไขแบบแสดงรายการข้อมูลการการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและหนังสือชี้ชวนหรือการแก้ไขไวท์เปเปอร์ ภายในระยะเวลา 15 วันก่อนการแก้ไข
x. ผู้ออกโทเคนดิจิทัลต้องเปิดเผยราคาเสนอขายโทเคนดิิจิทัล หรือข้อมูลการประเมินมูลค่าของโทเคนดิจิทัลที่สัมพันธ์กับสินค้าและบริการที่รองรับโทเคนดิจิทัลดังกล่าว ตลอดระยะเวลาที่มีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
xi. ผู้ออกโทเคนดิจิทัลต้องเปิดเผยสัดส่วนโทเคนดิจิทัลของผู้ลงทุนที่ได้โทเคนดิจิทัลมาโดยเสียค่าตอบแทนหรือในราคาต่ำกว่าราคาเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อจำนวนโทเคนดิจิทัลทั้งหมด โดยให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวตลอดระยะเวลาที่มีการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
xii. ภายหลังจากการได้รับอนุมัติจากศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลให้สามารถซื้อขายโทเคนดิจิทัล ผู้ออกโทเคนดิจิทัลต้องเปิดเผยข้อมูล (หากมี) ดังนี้ -
-
กรณีที่โทเคนดิจิทัลมีการเสนอขายในลักษณะต่ำกว่าราคาตลาดและนำมาซื้อขายภายในระยะเวลา 6 เดือน บริษัทที่ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดระยะเวลาการห้ามขาย (silent period) โทเคนดิจิทัลดังกล่าวเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือนนับแต่วันที่มีการส่งมอบโทเคนดิจิทัลให้แก่ผู้ถือ
หมายเหตุ คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญเพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบว่าโทเคนดิจิทัลมีแผนธุรกิจที่สามารถ นําไปใช้ได้จริง แผนธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ของผู้ออกนั้นต้องได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ อย่างน้อย 1 ราย และผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- ผู้เชี่ยวชาญต้องมีประสบการณ์อย่างน้อยสาม (3) ปีในสาขาวิชาที่เกี่่ยวข้องกับโทเคนดิจิทัลที่ออกและเสนอขาย
- ผู้เชี่ยวชาญสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเป็นอิสระและไม่มีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์กับโทเคนดิจิทัลที่ออกและเสนอขาย เช่น ผู้เชี่ยวชาญมิได้ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมในบริษัทที่ออกและ เสนอขายโทเคนดิจิทัล หรือผู้เชี่ยวชาญไม่ได้มีส่วนร่วมในการลงทุน ในโทเคนดิจิทัลที่่ออกและเสนอขายนั้น
- ผู้เชี่ยวชาญสามารถให้ความเห็นในการประเมินโทเคนดิจิทัล โดยสามารถวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของโทเคนดิจิทัลที่ออกและ เสนอขายได้
4. การติดตามคุณสมบัติและการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Monitoring and Delisting)
เกณฑ์การเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Delisting Rules)
- บริษัทที่ออกและเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทโทเคนดิจิทัลขอเพิกถอนโดยสมัครใจ
- เมื่อสินทรัพย์ดิจิทัลประสบความเสียหายหรือเข้าข่ายหลอกลวงนักลงทุน
- กรณีที่ภายหลังปรากฏว่ามีเหตุหรือคุณลักษณะเป็นไปตามข้อ 2. ลักษณะของสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะไม่คัดเลือกมาให้บริการ
- เมื่อมีเหตุการณ์ที่อาจทำให้ผู้ลงทุนมีความเสี่ยงที่จะสร้างความเสียหายแก่นักลงทุน เช่น เหตุการณ์ที่เจ้าของโครงการถูกฟ้องคดี หรือมีข่าวเกี่ยวกับการกระทำการฉ้อฉล
- กรณีอื่น ๆ ที่อาจทำให้พิจารณาได้ว่า สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงที่จะสร้างความเสียหายแก่นักลงทุนหรือไม่มีการทำธุรกรรมซื้อขายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน
- เมื่อสินทรัพย์ดิจิทัลไม่สามารถดำรงคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ
4.1 กระบวนการพิจารณาเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token)
โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
-
กรณีผู้ออกโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนยื่นคำขอเพิกถอนโดยสมัครใจ
a. ฝ่ายพัฒนาธุรกิจพิจารณาคำขอเพิกถอนโดยคำนึงถึงเหตุผล ผลกระทบต่อผู้ลงทุน และ/หรือ สัญญาการให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ - ดิจิทัล
b. คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลพิจารณาและอนุมัติ
c. เมื่อคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลพิจารณาและอนุมัติให้ฝ่ายพัฒนาธุรกิจดำเนินตามกระบวนการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลภายหลังจากพิจารณาต่อไป -
กรณีฝ่ายพัฒนาธุรกิจตรวจสอบแล้วเห็นว่า โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนเข้าหลักเกณฑ์การเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น
a. ฝ่ายพัฒนาธุรกิจตรวจสอบแล้วเห็นว่า โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนเข้าหลักเกณฑ์การเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น ฝ่ายพัฒนาธุรกิจจะสอบถามไปยังผู้ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนชี้แจงเหตุผลถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยผู้ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนจะต้องชี้แจงให้บริษัทฯ ทราบถึงสาเหตุ พร้อมทั้งวิธีการแก้ไขภายใน 7 วันนับแต่วันที่บริษัทฯ ได้มีการสอบถาม
b. หากไม่ได้รับคำชี้แจงจากผู้ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนให้คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลอนุมัติเพิกถอน
c. หากได้รับคำชี้แจงจากผู้ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนแล้ว ฝ่ายพัฒนาธุรกิจจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลเสนอเพื่อพิจารณาคำชี้แจงดังกล่าวภายใน 7 วัน
d. คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลมีมติให้ผู้ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนแก้ไขเหตุดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนหรือตามระยะเวลาที่ตกลงกันกับผู้ออกโทเคนดิจิทัลโดยคำนึงถึงเหตุที่ต้องแก้ไข
e. ฝ่ายพัฒนาธุรกิจแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลไปยังผู้ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงุทนภายในวันทำการถัดไป
f. กรณีผู้ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนไม่สามารถดำเนินการแก้ไขและกลับมาดำรงคุณสมบัติตามตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ ตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อ d. นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากบริษัทฯ ให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกสินทรัพย์ดิิจิทัลอาจพิจารณาอีกคราวหรืออนุมัติการเพิกถอนต่อไป
g. เมื่อคณะกรรมการสินทรัพย์ดิิจิทัลอนุมัติการเพิกถอนแล้ว ให้ฝ่ายพัฒนาธุรกิจแจ้ง ให้ผู้ออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ทราบล่วงหน้า 3 เดือน ก่อนการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล หรือตามที่ตกลงกันภายหลัง
h. ฝ่ายพัฒนาธุรกิจจัดเก็บเอกสารหลักฐานและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และเก็บในลักษณะพร้อมใช้ไม่น้อยกว่า 2 ปี
4.2 กระบวนการพิจารณาเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทโทเคนดิจิทัล (Digital Token)
โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้ (กรณีนี้ไม่ใช้กับการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อการลงทุน)
1) กรณีออกโทเคนดิจิทัลยื่นคำขอเพิกถอนโดยสมัครใจ
b. ฝ่ายพัฒนาธุรกิจพิจารณาคำขอเพิกถอนโดยคำนึงถึงเหตุผล ผลกระทบต่อผู้ลงทุน และ/หรือ สัญญาการให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล
c. คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลพิจารณาและอนุมัติ
d. เมื่อคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลพิจารณาและอนุมัติให้ฝ่ายพัฒนาธุรกิจดำเนินตามกระบวนการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลภายหลังจากพิจารณาต่อไป
2) กรณีฝ่ายพัฒนาธุรกิจตรวจสอบแล้วเห็นว่า โทเคนดิจิทัลเข้าหลักเกณฑ์การเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น
a. เมื่อฝ่ายพัฒนาธุรกิจเห็นว่าโทเคนดิจิทัล เข้าหลักเกณฑ์การเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล ข้อใดข้อหนึ่งข้างต้นแล้วนั้น ทางฝ่ายพัฒนาธุรกิจจะนำเสนอให้มีการประชุมของ คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อพิจารณาอนุมัติเพิกถอนโทเคนดิจิทัล ภายใน 7 วัน และให้คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลแจ้งเพื่อทราบต่อคณะกรรมการบริษัทต่อไป
b. เมื่อคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลพิจารณาอนุมัติเพิกถอนโทเคนดิจิทัลแล้วเสร็จ ให้ฝ่ายพัฒนาธุรกิจดำเนินตามกระบวนการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล
4.3 กระบวนการตรวจสอบ ติดตาม และพิจารณาเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency)
a. เมื่อฝ่ายพัฒนาธุรกิจเห็นว่าคริปโทเคอร์เรนซีเข้าหลักเกณฑ์การเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น ฝ่ายพัฒนาธุรกิจจะนำเสนอให้มีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อพิจารณาอนุมัติเพิกถอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ภายใน 7 วัน และให้คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลแจ้งเพื่อทราบต่อคณะกรรมการบริษัทต่อไป
b. เมื่อคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลพิจารณาอนุมัติเพิกถอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลแล้วเสร็จ ให้ฝ่ายพัฒนาธุรกิจดำเนินตามกระบวนการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล
4.4 ขั้นตอนภายหลังการพิจารณาเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล
เมื่อคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลมีมติเห็นชอบให้เพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลใดออกจากศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ ให้ฝ่ายพัฒนาธุรกิจแจ้งให้คณะกรรมการบริษัท รับทราบพร้อมกับแจ้งรายละเอียดให้นักลงทุนทราบผ่านทางอีเมลและแจ้งบนหน้าเว็บไซต์ของบริษัทฯ (หากเป็นกรณีผู้ออกโทเคนดิจิทัลยื่นขอเพิกถอนโดยสมัครใจ ผู้ออกโทเคนดิจิทัลจะต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวตามช่องทางที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลใช้สำหรับการแจ้งข้อมูล ข่าวสารไปยังผู้ถือโทเคนดิจิทัลเพิ่มเติมด้วย)
a. บริษัทฯ จะระงับการซื้อและรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกสั่งเพิกถอนโดยคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลภายหลังจากครบ 24 ชั่วโมง นับจากเวลาที่บริษัทฯ ได้แจ้งให้ผู้ลงทุนทราบผ่านทางอีเมลและแจ้งบนหน้าเว็บไซต์ของบริษัทฯ
b. ภายหลังจากที่บริษัทได้แจ้งให้ผู้ลงทุนทราบตาม ข้อ 4.4 a. ผู้ลงทุนมีเวลา 30 วันนับแต่วันที่แจ้งผู้ลงทุน เพื่อขายหรือโอนสินทรัพย์ดิจิทัลไปยังศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ก่อนที่จะมีการเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวออกจากศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ
หลังจากที่สินทรัพย์ดิจิทัลถูกเพิกถอนออกจากศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ หากผู้ลงทุนยังไม่ได้ขาย หรือโอนสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว ผู้ลงทุนสามารถเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าวไว้กับบริษัทฯ ต่อไปได้ ตามเงื่อนไข วิธีการ และค่าธรรมเนียมในการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัล ที่บริษัทฯ กำหนดตามที่ได้เปิดเผยในเว็บไซต์ของบริษัทฯ ทั้งนี้ เมื่อลูกค้าประสงค์ที่จะโอนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกเพิกถอนในภายหลัง สามารถติดต่อผ่านช่องทางทางการของบริษัทเพื่อแจ้งความประสงค์ได้
5. การกำกับดูแลนโยบายและหลักเกณฑ์
กำหนดให้ฝ่ายกำกับดูแลมีหน้าที่ในการกำกับดูแลและตรวจสอบให้มีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ฉบับนี้ เป็นรายไตรมาส และจัดทำรายงานเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ